Camping กางเต้นท์ ป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้ ริมอ่างเก็บน้ำ 4วัน3คืน ท่ามกลางความหนาวเหน็บทุกคืน ฟินเว่อร์ - EVENT96Travel

Sidebar Ads

Post Top Ad

Responsive Ads Here

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

Camping กางเต้นท์ ป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้ ริมอ่างเก็บน้ำ 4วัน3คืน ท่ามกลางความหนาวเหน็บทุกคืน ฟินเว่อร์

  




 มาแค้มปิ้งครานี้ ไม่ผิดหวังเลย บรรยากาศดีมาก ที่ ป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้-ป่าในเมืองเดิม หรือลานกางเต้นท์เขาอีโต้ ริมอ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ ปราจีนบุรี  เดินทางจากกรุงเทพ[อสุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ] ประมาณ137กม. ถนนลาดยางจนถึงที่  รถทุกชนิดมาได้ พอมาถึงต้องลงทะเบียนก่อน เจ้าหน้าที่ทุกคนน่ารักต้อนรับอย่างดี พูดจาดีสุภาพ




















 

   หากใช้ไฟฟ้าให้แจ้งเจ้าหน้าที่ จ่ายค่าไฟฟ้า 50บาท ต้องเตรียมสายไฟมายาวๆเกิน10เมตร ยิ่งดี  เปิดไฟ5โมงเย็น ถึง 10โมงเช้า ค่ากางเต้นท์แล้วแต่บริจาค พร้อมรับเอกสารกฎระเบียบ แล้วเลือกที่กางเต้นท์ มีรถเข็นไว้คอยบริการ 







บรรยากาศ กลางวันไม่ร้อน ลมพัดเบาๆทั้งวัน กลางคืนหนาวมากทุกคืน ในเต้นท์ ไม่ต้องเปิดพัดลม  ที่นี่อยู่4วัน3คืน  คืนแรก มี5เต้นท์ คืนที่2มี8เต้นท์ คืนที่3มี4เต้นท์  แต่ไม่มีใครส่งเสียงดัง ห้ามเปิดเครื่องเสียงหลัง21.00-10.00 มีไฟแสงสว่างเกือบทั่วลาน




















     


ช่วงหัวค่ำมีเจ้าหน้าที่มาเดินตรวจที่เต้นท์ มาเช็กว่าลงทะเบียนรึยัง และมาถ่ายรูปเต้นท์

 มีร้านกาแฟ ขายของชำ   น้ำแข็ง ไข่กะทะ ข้าวไข่เจียว [ข้าวนิ่มมาก อร่อย]




ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกๆท่านที่ ดูแลผืนป่าแห่งนี้ ให้ประชาชนได้ไปพักผ่อนอย่างมีความสุข ประทับใจมาก คราหน้าจะมาอีก 

 




ข้อควรรปฏิบัติในการพักแรม พื้นที่ป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้

ปราจีนบุรี

-ห้ามก่อกองไฟบนสนามหญ้า พื้นสนาม หรือปรุงอาหารภายในศาลา

-ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเล่นการพนันทุกชนิด

-ห้ามใช้อุปกรณ์เครื่องเสียง หรือส่งเสียงคังรบกวนผู้อื่น ตั้งแต่เวลา 21.00-10.00

น. ของวันรุ่งขึ้น ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่

-ห้ามให้อาหารสุนัข และระวังสุนัขกุ้ยเขี่ยอาหาร หากนำสัตว์เลี้ยงมาโปรดดูแล

สัตว์เลี้ยงของท่าน

-ห้ามนักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำโดยไม่สวมเสื้อชูชีพ และเด็กควรอยู่ในความดูแล

ของผู้ปกครอง

-โปรดช่วยกันรักษาความสะอาด งดใช้ถุงพลาสติกและโฟม ห้ามทิ้งขยะหรือ

สร้างมลภาวะในพื้นที่ หากมีขยะโปรดนำขยะของท่านกลับด้วย

-โปรดนำรถมาจอด ณ ลานจอดรถ หลังจากน้ำสัมภาระลงไปยังที่พักเรียบร้อย

แล้ว เพื่อไม่ให้บดบังทัศนียภาพโดยรวม

-การดำเนินกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากนันทนาการและการพักแรม จำเป็นต้อง

ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ เท่านั้น

*ห้ามเสพกัญชาและยาเสพติดอื่นทุกชนิด มีโทษตามกฎหมาย

*ให้นักท่องเที่ยวปฏิบัติตามคำแนะนำและข้อห้ามด้านความปลอดภัยเพิ่มเติมจาก

เจ้าหน้าที่

**ทางโครงการป่าในเมืองเขาอีโต้ มีการประสานการดูแลความปลอดภัยกับ

เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และฝ่ายปกครอง และขอสงวนสิทธิ์ในการพักแรมกรณี

ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการฯ พร้อมชดใช้ค่าเสียหาย





ข้อมูลพื้นฐานพื้นที่ป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้ จังหวัดปราจีนบุรี

    ป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้  จังหวัดปราจีนบุรี  ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้ ในท้องที่ตำบลเนินหอม ตำบลบ้านพระ และตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี จัดตั้งขึ้นตามประกาศกรมป่าไม้ เมื่อวันที่ ๒๐  กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เนื้อที่ประมาณ  ๑๑,๑๔๗ ไร่ หรือประมาณ ๑๗.๘๓๕๒ ตารางกิโลเมตร

      ประวัติความเป็นมา

    เดิมบริเวณป่าน้ำตกเขาอีโต้ มีเนื้อที่รวมประมาณ  ๑๓,๖๐๐ ไร่ ในอดีตบริเวณด้านบน มีพื้นที่ราบเชิงเขาอยู่บางส่วน จึงมีราษฎรขึ้นไปอยู่อาศัยทำกินโดยประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ แต่ด้วยสภาพพื้นดินมีชั้นดินตื้น มีแผ่นหินทรายอยู่มาก จึงทำให้การทำการเกษตรไม่ได้ผล การทำมาหากินยากลำบาก     เป็นเหตุให้ราษฎรส่วนใหญ่อพยพลงมาด้านล่าง และเมื่อวันที่  ๒๒ กันยายน ๒๕๑๓ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ กำหนดให้ป่าน้ำตกเขาอีโต้ เป็นป่าไม้ถาวรของชาติ  กรมป่าไม้จึงได้เริ่มเข้ามาดำเนินการปลูกฟื้นฟูสภาพป่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ จนถึงปัจจุบัน มีเนื้อที่ฟื้นฟูสภาพป่า ประมาณ ๑๐,๘๐๐ ไร่ โดยการปลูกป่าในช่วงแรก ได้นำไม้โตเร็วมาเป็นไม้เบิกนำเนื่องจากสภาพดินที่เสื่อมโทรม ทำให้ไม้ชนิดอื่นเจริญเติบโตช้าและเพื่อเป็นการป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าไว้ก่อน

    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๒๑ กรมชลประทานได้มีการจัดซื้อที่ดินบางส่วนบนเขาอีโต้จากราษฎร (ขณะนั้นยังไม่ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ)  เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ (เขาอีโต้ ๑)  เนื้อที่ ประมาณ    ๓๒๕ ไร่ มีความจุน้ำ ประมาณ ๒.๙ ล้านลูกบาศก์เมตร (กั้นลำห้วยวังน้ำเขียว ลำห้วยไทรทอง ลำห้วยไผ่ข้าวหลาม และลำห้วยป่าผักหวาน) ซึ่งปัจจุบันกรมชลประทานได้มอบให้กองทัพบกเป็นผู้ดูแลและใช้ประโยชน์จากน้ำดังกล่าว เป็นหลัก

    ในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้มีกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๐๐๒ (พ.ศ.๒๕๒๖) ลงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๖ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗ ประกาศให้ป่าน้ำตกเขาอีโต้ เป็นป่าสงวนแห่งชาติ    ป่าน้ำตกเขาอีโต้ ครอบคลุมท้องที่ ตำบลบ้านพระ ตำบลดงขี้เหล็ก และตำบลเนินหอม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๑๓,๕๙๓ ไร่ หรือ ๒๑.๗๕ ตารางกิโลเมตร

    คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ กำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำตกเขาอีโต้ เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑
A,B,, ๓ และ ๔ และเมื่อวันที่ ๑๐ และ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๕ คณะรัฐมนตรีได้จำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ กำหนดให้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำตกเขาอีโต้ เป็นป่าอนุรักษ์ (โซน C) ยกเว้นรอบอ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ (เขาอีโต้ ๑) กำหนดเป็นพื้นที่             ป่าเศรษฐกิจ (โซน E)

   ในปี พ.. ๒๕๓๙-๒๕๔๑ กรมชลประทาน ได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้ เนื้อที่ประมาณ ๑๙๐ ไร่ เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำเขาอีโต้ ๒ เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภค บริโภคและการเกษตร ให้กับราษฎร (กั้นลำห้วยคลองเรือ) มีความจุน้ำ ประมาณ ๓ แสนลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน

 

    ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้มีการปฏิรูประบบราชการ ปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม โดยแบ่งส่วนราชการขึ้นใหม่โดยกำหนดให้มี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง ขณะนั้นกรมป่าไม้ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้แยกงาน ป่าสงวนแห่งชาติ งานอุทยานแห่งชาติ งานอนุรักษ์สัตว์ป่า ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบและกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ประกาศจัดตั้งป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้เป็น วนอุทยานน้ำตกเขาอีโต้ เพื่อดูแลการท่องเที่ยวและกิจกรรมนันทนาการ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้

    ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้มีพระราชกฤษฎีกาโอนภารกิจและกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  มาเป็น กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยให้งานด้านป่าสงวนแห่งชาติ กลับมาเป็นหน้าที่รับผิดชอบของกรมป่าไม้ ดั่งเดิม  กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงได้ส่งมอบงานด้านป่าสงวนแห่งชาติ กลับมาให้กรมป่าไม้ รับผิดชอบ

   ในปี ๒๕๕๓ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ส่งมอบพื้นที่และภารกิจงานในเขต      ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้ ซึ่งเป็นพื้นที่สวนป่าที่ดำเนินการปลูกโดยหน่วยจัดการต้นน้ำเขาอีโต้ ให้กรมป่าไม้ เพิ่มเติมรับไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ต่อไป  และในวันที่ ๒-๓ ธันวาคม ๒๕๕๓ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (โดยนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขณะนั้น)  ได้ดำเนินการจัดโครงการทำดีเพื่อแผ่นดิน  เพื่อแก้ไขปัญหาพระสงฆ์บุกรุกพื้นที่ป่า โดยนิมนต์พระสงฆ์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าทั่วประเทศ มาร่วมกิจกรรม จำนวน ๖,๓๕๐ รูป ณ ริม อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้ และได้ริเริ่มดำเนินโครงการพุทธอุทยานโลก ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ     ป่าน้ำตกเขาอีโต้ขึ้น โดยได้ดำเนินการตามปฏิญญากรุงเทพ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ขณะนั้น ได้แถลงต่อที่ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก และจัดตั้งมูลนิธิพุทธอุทยานโลกขึ้นมาดำเนินการ กรมป่าไม้จึงได้จัดตั้งวนพุทธอุทยานน้ำตก  เขาอีโต้ จังหวัดปราจีนบุรี ขึ้นมาเพื่อดูแลพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้ แทนวนอุทยานน้ำตกเขาอีโต้เดิม เพื่อรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวและกิจกรรมนันทนาการ  โดยภายพื้นที่ป่าสงวนฯ มีหน่วยงานของกรมป่าไม้ อีกหลายหน่วยงานเพื่อปฏิบัติงาน ได้แก่ ฐานป้องกันรักษาป่าเขาอีโต้ ดูแลงานป้องกันรักษาป่า(ปัจจุบัน ได้แก่ หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ปจ.๑ (เขาอีโต้) ) และหน่วยฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้ที่ ๑ จังหวัดปราจีนบุรี รับผิดชอบงานฟื้นฟูสภาพป่า สำหรับโครงการพุทธอุทยานโลก ซึ่งทางมูลนิธิพุทธอุทยานโลก ยังไม่ได้มีการดำเนินการต่อได้ เนื่องจากติดปัญหาในการดำเนินงาน

 ในปี ๒๕๕๕ จังหวัดปราจีนบุรี (โดยนางสาวจิตรา พรหมชุติมา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ในขณะนั้น) ได้มาสำรวจพื้นที่เพื่อจะดำเนินการสร้างพระพุทธรูปประจำจังหวัด และรับทราบข้อปัญหา อุปสรรค ของการดำเนินการโครงการพุทธอุทยานโลกเดิม  จึงดำเนินการให้จังหวัดปราจีนบุรี ขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ  จำนวน ๘ แปลง เนื้อที่ ๖๘-๐-๔๑ ไร่ เพื่อดำเนินการโครงการพุทธอุทยานโลก อีกครั้ง โดยเริ่มก่อสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกตามแบบของพระพุทธรูปยุคทวารวดีที่ขุดพบที่เมืองศรีมโหสถ (โคกปีบ)      สูงที่สุดในประเทศไทย และได้รับพระราชนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระอิสรยศ ขณะนั้น) ว่า “พระพุทธทวารวดีศรีปราจีน สิรินธรโลกนาถ”

ในปี ๒๕๕๘ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘ รับทราบและรับโครงการพุทธอุทยานโลก จังหวัดปราจีนบุรี เป็นโครงการของรัฐบาล และแต่งตั้งให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ โดยมีการสำรวจออกแบบ วางผัง โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมศิลปากร ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีได้รับอนุญาตแล้ว และให้ดำเนินการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติฯเพิ่มเติม อีก จำนวน  ๒ แปลง  เนื้อที่ประมาณ  ๒๐  ไร่

ปี ๒๕๖๔ กรมป่าไม้ ได้ประกาศจัดตั้งป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้ จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๔ กำหนดให้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้ บางส่วน เป็นป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้ นื้อที่ประมาณ  ๑๑,๑๔๗ ไร่ หรือประมาณ ๑๗.๘๓๕๒ ตารางกิโลเมตร ตาม มาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๗



ตำนานพื้นบ้านและคำบอกเล่า เกี่ยวกับป่าเขาอีโต้

เขาอีโต้ มีคำบอกเล่าจากคนเฒ่า คนแก่ ในพื้นที่ว่า เป็นที่เขาคู่พี่น้องกับเขาชีปิด (เขาไม้ปล้อง) ในอดีต มีคำเรียกเขาอีโต้ว่า “เขาตะเภา” โดยว่ากันว่าแต่เดิมบริเวณปราจีนบุรี ถึงเขาใหญ่ เป็นทะเล มีเรือสำเภาลำใหญ่ลำหนึ่งแล่นมาถึงบริเวณเขาอีโต้ปัจจุบัน คนท้ายเรือต้องการตักน้ำมาใช้ แต่เมื่อก้มลงมองทะเลเพื่อจะตักน้ำไปใช้ แต่กลับเห็นบริเวณดังกล่าวไม่ใช้พื้นทะเล แต่เป็นพื้นดิน คนท้ายเรือเลยตะโกนบอกคนในเรือว่าไม่มีน้ำมีแต่ดิน ทันใดนั้นเรือสำเภาก็แตกเป็นออก กลายเป็นเขา เรียกว่า “เขาตะเภา” (น่าจะมาจากคำว่า “สำเภา”ซึ่งกร่อนเสียงลงเป็น “ตะเภา”  ซึ่งทุกวันโกน (วันก่อนวันพระ) จะมีเรือลำเล็กล่องตามน้ำมีแสงไฟเหมือนโคม เสมือนการนำทางเรือสำเภา

           มีคนเฒ่าคนแก่บอกสืบกันมาว่า ใครไปปิดทางน้ำนั้นจะเจ็บป่วยและต้องนำสิ่งกีดขวางนั้นออกไป โดยผู้ที่ดูแล “เขาตะเภา” ได้แก่เจ้าของเรือสำเภา นั่นเอง

           และยังมาตำนานเรื่องคล้ายๆกัน ว่ามีเรือสำเภาลำใหญ่ มาค้าขายในบริเวณนี้ซึ่งเดิมเป็นท้องทะเล  เมื่อเรือสำเภาดังกล่าว แล่นมาถึงบริเวณทะเลบ้านแหลมหินก็ชนกับโขดหินจนทำให้เรือสำเภาล่ม เรือสำเภาถูกพัดพาไปรวมกันกลายเป็น “เขาตะเภา” (เขาอีโต้ ปัจจุบัน) และหมู่บ้านที่ชนโขดหิน เรียกว่า “บ้านแหลมหิน”

เขาอีโต้ มองจากด้านข้างเห็นเป็นสันเขาลาดลง คล้ายมีดอีโต้  หากมองมุมสูง จะคล้ายใบโพธิ์

ที่ตั้งและอาณาเขต

ป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้ จังหวัดปราจีนบุรี (เนื้อที่ ๑๑,๑๔๗ ไร่) จะมีขอบเขต เดียวกับป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้ (เนื้อที่ ๑๓,๕๙๓ ไร่)  แต่จะลดพื้นที่ซึ่งอนุญาตให้หน่วยงานอื่นใช้ประโยชน์ออก จึงมีเนื้อที่น้อยกว่าเนื้อที่ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวง อยู่ประมาณ ๒,๔๔๖ ไร่

ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ ๓ ตำบล ได้แก่ ตำบลเนินหอม ตำบลบ้านพระ และตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี  โดยมีอาณาเขตดังนี้

 

           ทิศเหนือ       จดบ้านห้วยเกษียร หมู่ที่ ๑๖ บ้านหัวบุ่ง หมู่ที่ ๑๘
                              ตำบลเนินหอม อำเภอเมืองปราจีนบุรี

    ทิศตะวันออก         จดบ้านห้วยเกษียร หมู่ที่ ๑๖ บ้านหนองปื๊ด หมู่ที่ ๑๑

                       บ้านเนินไฮ หมู่ที่ ๙ ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี

    ทิศใต้           จดบ้านหัวเขา หมู่ที่ ๑๑,๑๔ บ้านแยกนเรศวร หมู่ที่ ๑๕

                       ตำบลบ้านพระ อำเภอเมืองปราจีนบุรี

    ทิศตะวันตก           จดบ้านเนินบาก หมู่ที่ ๕ บ้านเนินไม้หอม หมู่ที่ ๑๗ ตำบลเนินหอม
                              อำเภอเมืองปราจีนบุรี

สภาพภูมิประเทศ

ลักษณะพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้มีความลาดชันมากทางด้านทิศเหนือ
ทิศตะวันตก
และทิศตะวันออก จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่บริเวณด้านทิศเหนือมีความสูง ๓๓๖ เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น ๑A, ๑B, ๒, ๓ และ ๔ ทางด้านทิศใต้มีความลาดชันน้อย ส่วนทางตอนกลางของพื้นที่จะเป็นที่ราบลงมาทางทิศใต้สภาพภูมิประเทศจึงเหมาะที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำและในปัจจุบันได้ก่อสร้างเขื่อนกั้นลำห้วยวังน้ำเขียว ได้แก่ อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ เนื้อที่ ประมาณ ๓๒๕ ไร่ ความจุน้ำประมาณ  ๒.๙ ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปัจจุบันกรมชลประทานได้มอบให้กองทัพบก ดูแลใช้ประโยชน์ และอ่างเก็บน้ำแห่งที่สอง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำเขาอีโต้ โดยสร้างเขื่อนกั้นลำห้วยคลองเรือ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๙๐ ไร่ ความจุน้ำ  ประมาณ ๓.๕ แสนลูกบาศก์เมตร ซึ่งอยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำแห่งแรกทางด้านทิศตะวันออก โดยน้ำจากอ่างเก็บน้ำทั้งสองแห่งจะไหลรวมไปตามลำห้วยคลองเรือ เป็นน้ำตกเขาอีโต้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้คนมาเที่ยวชมน้ำตกและลงเล่นน้ำตกเป็นจำนวนมาก

        ลักษณะทางธรณีวิทยา ดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินชั้นล่างเป็นดินปนหิน ปนกรวด หน้าดินตื้น หินเป็นหินทราย หินอัคนี และหินแปร

        ลักษณะทางปฐพีวิทยา ดินส่วนใหญ่มีหน้าดินตื้นลึกประมาณ ๑-๒ ฟุต ดินเป็นชนิดดินร่วนปนทราย

        การกำหนดชั้นคุณภาพรุ่มน้ำ ชั้นคุณภาพรุ่มน้ำทั้ง ๕ ชั้น ประกอบด้วยลุ่มน้ำชั้น ๑A มีพื้นที่จำนวน ๔.๗๘ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด ลุ่มน้ำชั้น ๑B มีพื้นที่จำนวน ๕.๑๕ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด ลุ่มน้ำชั้น ๒ มีพื้นที่จำนวน ๔.๐๕ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด ลุ่มน้ำ ๓ มีพื้นที่จำนวน ๑๑.๐๔ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด ลุ่มน้ำชั้น ๔ มีพื้นที่จำนวน ๑๔.๗๑ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด ลุ่มน้ำชั้น ๕ มีพื้นที่จำนวน ๖๐.๒๗ เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด

        ลำห้วยสำคัญในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้  เป็นแหล่งต้นน้ำสาขาของแม่น้ำปราจีนบุรี  มีลำห้วยสำคัญในพื้นที่  ๕ สาย ได้แก่ ๑.ลำห้วยวังน้ำเขียว ๒.ลำห้วยไผ่ข้าวหลาม ๓.ลำห้วยไทรทอง ๔.ลำห้วยป่าผักหวาน ๕.ลำห้วยคลองเรือ  ลำห้วยทั้ง ๕ สายไหลลงมารวมตอนใต้ด้านล่างของป่าสงวนแห่งชาติ (ปัจจุบัน ลำห้วยวังน้ำเขียว ลำห้วยไทรทอง ลำห้วยไผ่ข้าวหลาม และลำห้วยป่าผักหวาน จะลงสู่อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ ก่อน) ไหลรวมกันเป็นลำห้วยคลองเรือ (ลำห้วยคลองเรือไหลลงอ่างเก็บน้ำเขาอีโต้ก่อนและไหลลงมา)  ช่วงไหลผ่านตอนใต้ของป่า ซึ่งเป็นธารน้ำไหลแก่งหินยาวประมาณ ๓๐ เมตร แล้วไหลตกเป็นน้ำตกเขาอีโต้ มีความสูงประมาณ ๑๐ เมตร แล้วไหลลงไปรวมกับคลองห้วยเกษียรที่บ้านขอนขว้าง ตำบลดงขี้เหล็ก ไหลผ่านตำบลดงพระราม  ตำบลบางบริบูรณ์  แล้วไหลรวมกับแม่น้ำปราจีนบุรี ที่บ้านบางบริบูรณ์  ตำบลบางบริบูรณ์

        พื้นที่ด้านทิศเหนือของป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้อยู่ห่างจากเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร และห่างจากด่านเก็บค่าธรรมเนียมเนินหอม เส้นทางขึ้นที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ระยะทางตามถนน จากที่ทำการป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้ ประมาณ ๒๐ กิโลเมตร

        สภาพภูมิอากาศ

        จังหวัดปราจีนบุรีได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบกับลมฝ่ายใต้ที่พัดปกคลุมภาคตะวันออกรวมทั้งหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณจังหวัดปราจีนบุรีในฤดูร้อนมีอุณหภูมิสูงประมาณ ๓๔-๔๑ องศาเซลเซียส และอากาศค่อนข้างหนาวในฤดูหนาว

ฤดูร้อน     เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม                 อุณหภูมิเฉลี่ย ๓๙-๔๑ องศาเซลเซียส

ฤดูฝน       เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม            อุณหภูมิเฉลี่ย ๒๔ - ๓๐ องศาเซลเซียล

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์           อุณหภูมิเฉลี่ย ๑๖-๒๒ องศาเซลเซียส

อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ  ๓๔ องศาเซลเซียส

ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ๑,๓๘๐ มิลลิเมตร/ปี

 

ทรัพยากรธรรมชาติ

        ทรัพยากรป่าไม้ ในพื้นที่ เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งโดยชนิดพันธุ์ไม้ที่พบในป่าเบญจพรรณ ได้แก่ มะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn) เสลา(Lagerstroemia loudonii Tijsm & Binn.) ตะขบป่า (Flacourtia indica Merr.) พะยูง (Dalbergia cochinchinensis Pierre) ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus Kurz) แดง (Xylia kerrii Craib. & Hutch) มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa Craib) เก็ดแดง (Dalbergia dongniensis Pierre.) ตะแบก (Lagerstroemia calyculata Kurz.) รกฟ้า (Terminalia alata Heyne.) พฤกษ์ (Albizzia lebbek Benth.) ยมหิน (Chukrasia velutina W.& A.) มะเกลือ (Diospyros mollis Griff.) งิ้วป่า (Bombax anceps Pierre) มะกอก (SpondiaspinnataKurz.)  สมอไทย (Terminalia chebula Retz.) สมอพิเภก (Terminalia bellerica Roxb.) และโมกมัน (Wrightia tomentosa Roem. & Schult) เป็นต้น

ส่วนพืชชั้นล่างที่พบในบริเวณป่าเบญจพรรณแห่งนี้ ได้แก่ พืชจำพวกหญ้าและไผ่ชนิดต่างๆ เช่น ไผ่ป่า (Bambusa pergracile Munro.) ไผ่ซาง (Dendrocalamus strictus Nees.) เป็นต้น

บริเวณป่าดิบแล้งจะมีพรรณไม้ที่พบมาก คือ กระบาก (Anisoptera costata Korth.) ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb.) ยางแดง (Dipterocarpus turbinatus Gaerth.f.) ตะเคียนหิน (Hopea ferrea Laness) สมพง (Tetrameles nudiflora R.Br.) มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa Craib) ปออีเก้ง (Pterocymbium javanicum R.Br.) กัดลิ้น (Walsura trichostemon Miq.) กระเบากลัก (Hydnocarpus ilicifolius King) และกระบก (Irvingia malayana Oliv. Ex ABenn.) เป็นต้น

ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมีพวกปาล์ม หวาย ขิงข่าต่างๆ แต่มีปริมาณไม่มากนักและพื้นที่ค่อนข้างโล่งเตียน สภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำตกเขาอีโต้ เดิมเป็นป่าเสื่อมโทรม เนื่องจากเคยถูกบุกรุกพื้นที่ทำการเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ ต่อมากรมป่าไม้ โดยหน่วยจัดการต้นน้ำเขาอีโต้ ได้ดำเนินการปลูกฟื้นฟูป่าตั้งแต่ปี ๒๕๒๑-ปัจจุบัน    ๑๐,๘๐๗ ไร่ ซึ่งในช่วงแรกของการปลูกฟื้นฟูป่าใช้ไม้โตเร็วเป็นไม้เบิกนำ เนื่องจากมีสภาพเสื่อมโทรมมาก ภายหลังได้มีการนำไม้มีค่าในท้องถิ่นมาปลูกเสริม เพื่อเพิ่มความหลากหลาย มีการก่อสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น นอกจากนี้ยังมีการดำเนินการปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งพันธุ์ไม้ที่ปลูก ได้แก่ กระถินเทพา (Acacia mangium Willd.) ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus Kurz) กระถินณรงค์ (Acacia auriculiformis Cunn) นนทรีป่า (Peltophorum dasyrachis Kurz) และตีนเป็ด (Alstonia scholaris R.Br.) เป็นต้น ปัจจุบันพันธุ์ไม้โตเร็วที่ปลูกเริ่มยืนต้นตาย คงเหลือไม้มีค่าในท้องถิ่น ทำให้สภาพป่าเริ่มกลับมามีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น

        ทรัพยากรสัตว์ป่า

       สัตว์ป่าที่พบในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้ส่วนใหญ่เป็นสัตว์จำพวกนกชนิดต่างๆได้แก่ นกกระทาทุ่ง (Francolinus pintadeanus Scopoli) ไก่ป่า (Gallus gallus Linnaeus) นกกวัก (Amaurornis phoenicurus Pennant) และนกเขาใหญ่ (Streptopelia chinensis Scopoli) เป็นต้น และจากการฟื้นฟูสภาพป่าทำให้สัตว์ป่ากลับมามีความชุกชุมมากขึ้นเนื่องจากมีแหล่งน้ำและแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ สัตว์ที่พบได้ง่าย ได้แก่ นก งู กระรอก กระแต ไก่ป่า แย้ หมูป่า เป็นต้น

การใช้ประโยชน์ที่ดิน

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำตกเขาอีโต้มีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับซ้อนหลายลูกผืนป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งกระจายอยู่ทั่วไปโดยมีพื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบบริเวณตามแนวเขตด้านล่างโดยรอบมีราษฎรถือครอบครองเพื่อทำเกษตรกรรม การใช้ประโยชน์ที่ดินในป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำตกเขาอีโต้ ในปัจจุบันสามารถจำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ เป็นพื้นที่อนุรักษ์ เกือบทั้งหมด โดยกำหนดเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์(โซน C) ยกเว้นรอบอ่างเก็บน้ำ กำหนดเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ (โซน E) โดยแบ่งเป็นพื้นที่ชั้นลุ่มน้ำ ๑A,B, ๒, ๓ และ ๔ โดยมีการใช้ประโยชน์ ดังนี้

         ๑.อ่างเก็บน้ำ  จำนวน    แห่ง  ได้แก่

     ๑.๑ อ่างเก็บน้ำจักรพงษ์ (เขาอีโต้ ๑) เนื้อที่ประมาณ ๓๒๕ ไร่ ความจุน้ำ จำนวน  ๒.๙ล้านลูกบากศ์เมตร(พื้นที่ทับซ้อนที่ราชพัสดุ) กรมชลประทานมอบให้ของกองทัพบกดูแล การใช้ประโยชน์จากน้ำ  พิกัด ๔๗P๗๕๙๓๕๔ E ๑๕๖๕๘๗๙ N

            ๑.๒  อ่างเก็บน้ำเขาอีโต้  เนื้อที่ประมาณ ๑๙๐ ไร่ ความจุของน้ำ จำนวน  ๓.๕ แสนลูกบาศก์เมตร  อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน

พิกัด ๔๗P ๗๕๙๗๙๐ E ๑๕๖๖๒๕๙ N

.  แปลงป่าปลูกของหน่วยจัดการต้นน้ำเขาอีโต้  (เดิม)

    ๒.๑ ปลูกมาตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ ถึงปี ๒๕๔๒ เนื้อที่ประมาณ ๑๐, ๘๐๗ ไร่

     ๒.๒ แปลงป่าปลูกของโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมายุ ครบ ๖๐ พรรษา จำนวน ๒ แปลง เนื้อที่ประมาณ ๒๐๐ ไร่

 . ที่ดินราษฎรอาศัยถือครอง

     ๓.๑ บริเวณเหนืออ่างเก็บน้ำเขาอีโต้ โดยที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ น.ส.๓ จำนวน ๓ แปลง เนื้อที่ประมาณ ๗๔ ไร่ พิกัด ๔๗P ๗๕๘๖๔๔ E ๑๕๖๖๔๑๗ N

    ๓.๒  บริเวณตอนใต้ของอ่างเก็บน้ำเขาอีโต้  โดยที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ น.ส.๓ จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ประมาณ ๑๘ ไร่ พิกัด ๔๗P ๗๖๐๐๕๔ E ๑๕๖๖๐๓๙ N

    ๓.๓  รอบๆ ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำตกเขาอีโต้ มีการออกเอกสารสิทธิ โดยมีการสำรวจการถือครอง จำนวน ๑๒๘ แปลง เนื้อที่จำนวน ๑,๓๕๑-๑-๖๔ ไร่ ซึ่งไม่เป็นไปตาม มาตรา ๕๘ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน (ต้องไม่มีการออกในพื้นที่ป่า) อยู่ระหว่างการดำเนินการเพิกถอนจากกรมที่ดิน

. บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำมีร้านอาหารจำนวน ๒ แห่งซึ่งอยู่ในเขตชลประทาน และเป็นที่ราชพัสดุ

   พิกัด ๔๗P๗๕๙๔๙๗ E ๑๕๖๕๙๘๔ N

๖.บริเวณน้ำตกเขาอีโต้  มีราษฎรขายสินค้าและอาหาร จำนวน ๒ ร้าน

   พิกัด ๔๗ P ๗๖๐๐๗๖ E ๑๕๖๕๗๓๖ N

.วัดถ้ำเขาอีโต้ บ้านหัวเขา ตำบลบ้านพระ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

   เนื้อที่ประมาณ ๔๐ ไร่  พิกัด ๔๗P ๐๗๕๙๕๘๒E ๑๕๖๕๑๙๑N

๘.สำนักสงฆ์ วัดถ้ำเต่า  บ้านหนองปื้ด หมู่ที่ ๑๑  ตำบลดงขี้เหล็ก  เนื้อที่ ประมาณ ๑๐ ไร่

   พิกัด ๔๗P ๐๗๖๑๒๗๙ E ๑๕๖๖๐๙๐N

๙. จังหวัดปราจีนบุรี ขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ  จำนวน ๘ แปลง เนื้อที่        

   ๖๘-๐-๔๑ ไร่ เพื่อดำเนินการโครงการพุทธอุทยานโลก

   พิกัด ๔๗P ๐๗๕๗๙๕๐E ๑๕๖๗๔๗๓N

หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ปัจจุบัน

๑. หน่วยฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติแปลงที่ ๑ จังหวัดปราจีนบุรี

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๙ สาขาปราจีนบุรี
กรมป่าไม้
  พิกัด ๔๗P ๐๗๕๘๙๕๒E ๑๕๖๕๑๘๓N

๒.    หน่วยฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้ ที่ ๑ จังหวัดปราจีนบุรี

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๙ สาขาปราจีนบุรี กรมปาไม้

 พิกัด ๔๗P ๐๗๕๘๙๕๒E ๑๕๖๕๑๘๓N

๓. ป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้

โครงการป่าในเมืองเขาอีโต้  วนพุทธอุทยานน้ำตกเขาอีโต้

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๙ สาขาปราจีนบุรี
กรมป่าไม้
   พิกัด ๔๗P ๐๗๕๙๕๑๙E ๑๕๖๕๐๘๒N

๔.  หน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ ปจ. ๑(เขาอีโต้)

สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ ๙ สาขาปราจีนบุรี

กรมป่าไม้ พิกัด ๔๗P ๐๗๕๙๕๑๙E ๑๕๖๕๐๘๑N

๕.   ศูนย์ส่งเสริมการควบคุมไฟป่าจังหวัดปราจีนบุรี

สำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กรมปาไม้

พิกัด ๔๗P ๐๗๖๐๐๕๖E ๑๕๖๖๒๗๒N

จำนวนหมู่บ้านและครัวเรือน

        มีราษฎรตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัย และมีที่ทำกินอยู่รอบบริเวณป่าสงวนแห่งชาติ ป่าน้ำตกเขาอีโต้ อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี รวมทั้งสิ้น ๙ หมู่บ้าน ใน ๓ ตำบล ได้แก่

๑.  บ้านเนินบาก หมู่ที่ ๕ ตำบลเนินหอม

พิกัด ๔๗P ๐๗๕๕๑๙๖E ๑๕๖๗๓๙๖N

๒. บ้านห้วยเกษียร     หมู่ที่ ๑๖ ตำบลเนินหอม

พิกัด ๔๗P ๐๗๖๐๕๖๓E ๑๕๖๘๗๓๑N

๓. บ้านเนินไม้หอม     หมู่ที่ ๑๗ ตำบลเนินหอม

พิกัด ๔๗P ๐๗๕๕๘๓๓E ๑๕๖๘๗๐๖N

๔.  บ้านหัวบุ่ง             หมู่ที่ ๑๘ ตำบลเนินหอม

     พิกัด ๔๗P ๐๗๕๙๗๒๕E ๑๕๗๐๗๙๑N

๕.  บ้านหนองจอก     หมู่ที่ ๑๑  ตำบลบ้านพระ

พิกัด ๔๗P ๐๗๕๙๑๕๑E ๑๕๖๔๕๗๙ N

๖.  บ้านหัวเขา            หมู่ที่ ๑๔ ตำบลบ้านพระ

พิกัด ๔๗P ๐๗๕๙๐๐๖E ๑๕๖๓๙๔๙N

๗.  บ้านแยกนเรศวร   หมู่ที่ ๑๕ ตำบลบ้านพระ

พิกัด ๔๗P ๐๗๕๖๕๒๑E ๑๕๖๓๕๐๑N

๘. บ้านเนินไฮ           หมู่ที่ ๙ ตำบลดงขี้เหล็ก

พิกัด ๔๗P ๐๗๖๒๒๘๖E ๑๕๖๔๐๘๔N

๙. บ้านหนองปี๊ด        หมู่ที่ ๑๑ ตำบลดงขี้เหล็ก

พิกัด ๔๗P ๐๗๖๒๐๒๖E ๑๕๖๔๔๙๑N

        แผนที่ป่าน้ำตกเขาอีโต้03 (แก้ไข).jpg

 

ภาพที่ ๑  แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งหมู่บ้านตามการแบ่งเขตการปกครองของตำบลเนินหอม

          ตำบลบ้านพระ และตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

 

 

 

 

การคมนาคม

เส้นทางคมนาคม

        การคมนาคม เข้าสู่พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำตกเขาอีโต้ สะดวกและใกล้แหล่งชุมชน จากกรุงเทพ เดินทางตามถนนทางหลวงหมายเลข ๓๓ (ถนนสุวรรณศร) ไปตามเส้นทางนครนายก – กบินทร์บุรี ผ่านแยกวงเวียนศาลสมเด็จพระนเรศวร ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายแยกไปทางซ้ายบริเวณบ้านหัวเขา ตามถนนทางหลวงชนบท หมายเลข ปจ ๔๐๐๕  ถึงบริเวณที่ทำการชั่วคราวป่านันทนาการน้ำตกอีโต้  ระยะทางประมาณ ๒.๑๕๐ กิโลเมตร 

   ระยะทางจากป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้

   ถึง ศาลากลางจังหวัดปราจีนบุรี                                  ประมาณ    ๑๕  กิโลเมตร

   ถึง สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๙ สาขาปราจีนบุรี        ประมาณ    ๑๖  กิโลเมตร

   ถึง ด่านตรวจอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (เนินหอม)            ประมาณ     ๒๐ กิโลเมตร

   ถึง สถานีขนส่งกลางบางซื่อ   กรุงเทพฯ            ประมาณ  ๑๒๔  กิโลเมตร

   ถึง ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต ปทุมธานี                     ประมาณ  ๑๐๐   กิโลเมตร

   ถึง ศาลากลางจังหวัดชลบุรี                              ประมาณ   ๑๒๐  กิโลเมตร

   ถึง สนามบินสุวรรณภูมิ สมุทรปราการ                      ประมาณ   ๑๓๐  กิโลเมตร

           สำหรับ ระยะทางตามเส้นทางภายในป่านันทนาการน้ำตกเขาอีโต้ จากบริเวณที่ทำการชั่วคราว          ป่านันทนาการ น้ำตกอีโต้ ดังนี้

           ๑.ถึงจุดชมวิว ผาหินซ้อน  ระยะทางประมาณ  ๑.๕ กิโลเมตร

        ๒.ถึงจุดทางแยกลงน้ำตกไผ่ข้าวหลาม ระยะทางประมาณ  ๒.๘ กิโลเมตร

        ๓.ถึงจุดสะพานข้ามลำห้วยไผ่ข้าวหลาม ระยะทางประมาณ  ๔.๕๐๐ กิโลเมตร

        ๔.ถึงอาคารจุดตรวจ ทางเข้าบ้านเจ็ดหลัง (ชุมชนกลางป่า) ระยะทางประมาณ ๔.๖๘๐ กิโลเมตร

                 - บ้านเจ็ดหลังแยกลงไปทางด้านทิศตะวันออก ระยะทาง ประมาณ ๗๒๐ เมตร

           ๕.ถึงองค์พระพุทธทวารวดีศรีปราจีน สิรินธรโลกนาถ โครงการพุทธอุทยานโลก  ระยะทางประมาณ ๕.๑๘๐ กิโลเมตร

                 - น้ำตกไทรทองแยกลงไปด้านทิศตะวันออก ระยะทางประมาณ ๓๖๐ เมตร

           ๖. ถึงเนินพิศวง ระยะทางประมาณ ๕.๔๖๐ กิโลเมตร

           ๗. ถึงป่าไผ่เพ็ก ระยะทางประมาณ ๕.๘๖๐ กิโลเมตร

           ๘. ถึงจุดสูงสุด (เนิน ๓๓๖) ระยะทางประมาณ ๗.๑๕๐ กิโลเมตร

        ๙. ถึงชมรมกีฬาจักรยานเขาอีโต้ ระยะทางประมาณ ๑.๓๔๐ กิโลเมตร

         ๑๐. ถึงน้ำตกเขาอีโต้ ระยะทางประมาณ ๑.๒๘๐ กิโลเมตร

         ๑๑. ถึงวัดถ้ำเขาอีโต้  ระยะทางประมาณ ๐.๘๐ กิโลเมตร

         ๑๒. ถึงสถานีควบคุมไฟป่าปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ ๒.๑๕๐ กิโลเมตร

         ๑๓. ถึงสำนักสงฆ์วัดถ้ำเต่า ระยะทางประมาณ ๓.๕๐ กิโลเมตร

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Post Bottom Ad

Responsive Ads Here